วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทบาทของผู้บริหาร

บทบาทของผู้บริหาร
            การแบ่งเป็นระดับของผู้บริหารนั้นเป็นการพิจารณาในแง่ของความรับผิดชอบ (Responsibility)      ว่ารับผิดชอบอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด และต้องรับผิดชอบเรื่องสำคัญอย่างไร แต่การแบ่งประเภทของผู้บริหารจะพิจารณาในแง่ของอำนาจบังคับบัญชา (authority) ว่ากำหนดไว้อย่างไร ประเภทของผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 
            1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)  ผู้บริหารประเภทนี้  หากพิจารณาในด้านการใช้อำนาจก็คือ  ผู้บริหารที่สามารถสั่งการให้บุคคลในหน่วยงานของตนเองได้ทุกเรื่อง  ถ้าพิจารณาในแง่ของความรับผิดชอบก็คือ  ผู้บริหารที่รับผิดชอบความความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การอำนาจของผู้บริหารนี้คือ  กำกับ  ดูแล  สั่งการ  ประเมิน  ลงโทษ  เลื่อนชั้น  เลื่อนตำแหน่ง  คนที่อยู่ในส่วนของผู้บริหารได้  ดังนั้น  หัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานทุกหน่วยงานก็เป็น  line  manager  ของหน่วยงานนั้น  คือสามารถสั่งการบุคคลในหน่วยงานของตนเอง  หากพิจารณาในแง่ของความรับผิดก็จะระบุได้ว่า  ฝ่ายขาย  ฝ่ายผลิต  ฝ่ายจัดซื้อ  และฝ่ายการเงิน เป็น  line   ขององค์กรเป็นต้น
            2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)  อำนาจของผู้บริหารประเภทนี้ตรงกันข้ามกับผู้บริหารที่ทำหน้าที่สั่งการ  คือ  สั่งการไม่ได้แต่ให้คำแนะนำ  ให้การปรึกษาแก่ผู้บริหารที่ทำหน้าที่สั่งการได้เท่านั้น   มีความรับผิดชอบทางอ้อมต่อความสำเร็จและล้มเหลวขององค์การ  ช่วยให้งานของฝ่ายต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น  ที่ปรึกษาของฝ่ายการเงินให้คำแนะนำแก่ผู้จัดการฝ่ายการเงิน  ที่ปรึกษาของฝ่ายผลิตให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้จัดการฝ่ายผลิตและที่ปรึกษาของฝ่ายขายให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้จัดการฝ่ายขายต่าง ๆ เหล่านี้  ล้วนเป็น  staff   ทั้งสิ้น  หากพิจารณาในแง่ของความผิดชอบหน่วยงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานอื่นในองค์การเรียกว่าเป็นงาน    staff   ขององค์การ  เช่น  ฝ่ายบริหารงานบุคคล  ฝ่ายประชาสัมพันธ์  ฝ่ายกฎหมาย  เป็นต้น  ผู้จัดการของฝ่ายเหล่านี้ก็เป็น  staff manger  ขององค์การ  แต่ผู้จัดการฝ่ายบริหารบุคคล  ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์  ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายก็เป็น  line  manger  ของหน่วยงานตนเพราะสั่งการคนในฝ่ายของตนเองได้
            3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager) ผู้บริหารประเภทนี้จะได้รับมอบหมายให้สั่งการได้เฉพาะเรื่องบางเรื่องเท่านั้น ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาภาระของผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการประกอบกับ Functional manager มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจาก line manager ให้สั่งการเฉพาะด้านเท่านั้น
            4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)  เป็นผู้บริหารที่สามารถสั่งการได้ทุกหน่วยงานขององค์กร  มีความรับผิดชอบสูงและสั่งงานได้หลายหน้าที่  หลายกิจกรรมโดยไม่จำกัด  ตามปกติแต่ละหน่วยงานมักจะมีความรู้มีความเชี่ยวชาญในงานของหน่วยงานนั้น  เช่น  ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะมีความรู้ทางด้านการเงิน  ศึกษามาทางด้านการเงินหรืออบรมทางด้านการเงินมาก่อน  จึงจะมาเป็นผู้บริหารและรับผิดชอบงานในฝ่ายการเงิน  ทำนองเดียวกันผู้จัดการฝ่ายการตลาดก็มีความรู้ทางด้านการตลาด         ผู้จัดการฝ่ายผลิตก็มีความรู้สามารถทางด้านการผลิตจึงจะได้รับการแต่งตั้งเป็น    line  manager    ของฝ่ายตลาดและฝ่ายผลิต     แต่สำหรับผู้บริหารทั่วไปก็อาจมีความรู้อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้แต่ไม่รู้ทุกอย่างก็ได้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็น  general   manager  ก็จะต้องรับผิดชอบงานทุกอย่างทั้ง ๆ ที่งานบางอย่างอาจมีความรู้ไม่พอก็ได้  หาก จะพิจารณาในแง่ของอำนาจบังคับบัญชา  ผู้บริหารทั่วไปก็คือ  line   manager  ของหน่วยงานทั้งหมดขององค์กรนั่น เอง

            5.  ผู้บริหาร (Administrator)  หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น องค์กรที่เป็นหน่วยราชการ องค์กรการกุศล ส่วนท้องถิ่น เทศบาล หรือ โรงพยาบาลของรัฐเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น