วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

บทบาทของผู้บริหาร

บทบาทของผู้บริหาร
            การแบ่งเป็นระดับของผู้บริหารนั้นเป็นการพิจารณาในแง่ของความรับผิดชอบ (Responsibility)      ว่ารับผิดชอบอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด และต้องรับผิดชอบเรื่องสำคัญอย่างไร แต่การแบ่งประเภทของผู้บริหารจะพิจารณาในแง่ของอำนาจบังคับบัญชา (authority) ว่ากำหนดไว้อย่างไร ประเภทของผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 
            1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)  ผู้บริหารประเภทนี้  หากพิจารณาในด้านการใช้อำนาจก็คือ  ผู้บริหารที่สามารถสั่งการให้บุคคลในหน่วยงานของตนเองได้ทุกเรื่อง  ถ้าพิจารณาในแง่ของความรับผิดชอบก็คือ  ผู้บริหารที่รับผิดชอบความความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การอำนาจของผู้บริหารนี้คือ  กำกับ  ดูแล  สั่งการ  ประเมิน  ลงโทษ  เลื่อนชั้น  เลื่อนตำแหน่ง  คนที่อยู่ในส่วนของผู้บริหารได้  ดังนั้น  หัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานทุกหน่วยงานก็เป็น  line  manager  ของหน่วยงานนั้น  คือสามารถสั่งการบุคคลในหน่วยงานของตนเอง  หากพิจารณาในแง่ของความรับผิดก็จะระบุได้ว่า  ฝ่ายขาย  ฝ่ายผลิต  ฝ่ายจัดซื้อ  และฝ่ายการเงิน เป็น  line   ขององค์กรเป็นต้น
            2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)  อำนาจของผู้บริหารประเภทนี้ตรงกันข้ามกับผู้บริหารที่ทำหน้าที่สั่งการ  คือ  สั่งการไม่ได้แต่ให้คำแนะนำ  ให้การปรึกษาแก่ผู้บริหารที่ทำหน้าที่สั่งการได้เท่านั้น   มีความรับผิดชอบทางอ้อมต่อความสำเร็จและล้มเหลวขององค์การ  ช่วยให้งานของฝ่ายต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เช่น  ที่ปรึกษาของฝ่ายการเงินให้คำแนะนำแก่ผู้จัดการฝ่ายการเงิน  ที่ปรึกษาของฝ่ายผลิตให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้จัดการฝ่ายผลิตและที่ปรึกษาของฝ่ายขายให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้จัดการฝ่ายขายต่าง ๆ เหล่านี้  ล้วนเป็น  staff   ทั้งสิ้น  หากพิจารณาในแง่ของความผิดชอบหน่วยงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานอื่นในองค์การเรียกว่าเป็นงาน    staff   ขององค์การ  เช่น  ฝ่ายบริหารงานบุคคล  ฝ่ายประชาสัมพันธ์  ฝ่ายกฎหมาย  เป็นต้น  ผู้จัดการของฝ่ายเหล่านี้ก็เป็น  staff manger  ขององค์การ  แต่ผู้จัดการฝ่ายบริหารบุคคล  ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์  ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายก็เป็น  line  manger  ของหน่วยงานตนเพราะสั่งการคนในฝ่ายของตนเองได้
            3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager) ผู้บริหารประเภทนี้จะได้รับมอบหมายให้สั่งการได้เฉพาะเรื่องบางเรื่องเท่านั้น ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาภาระของผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการประกอบกับ Functional manager มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจาก line manager ให้สั่งการเฉพาะด้านเท่านั้น
            4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)  เป็นผู้บริหารที่สามารถสั่งการได้ทุกหน่วยงานขององค์กร  มีความรับผิดชอบสูงและสั่งงานได้หลายหน้าที่  หลายกิจกรรมโดยไม่จำกัด  ตามปกติแต่ละหน่วยงานมักจะมีความรู้มีความเชี่ยวชาญในงานของหน่วยงานนั้น  เช่น  ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะมีความรู้ทางด้านการเงิน  ศึกษามาทางด้านการเงินหรืออบรมทางด้านการเงินมาก่อน  จึงจะมาเป็นผู้บริหารและรับผิดชอบงานในฝ่ายการเงิน  ทำนองเดียวกันผู้จัดการฝ่ายการตลาดก็มีความรู้ทางด้านการตลาด         ผู้จัดการฝ่ายผลิตก็มีความรู้สามารถทางด้านการผลิตจึงจะได้รับการแต่งตั้งเป็น    line  manager    ของฝ่ายตลาดและฝ่ายผลิต     แต่สำหรับผู้บริหารทั่วไปก็อาจมีความรู้อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้แต่ไม่รู้ทุกอย่างก็ได้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็น  general   manager  ก็จะต้องรับผิดชอบงานทุกอย่างทั้ง ๆ ที่งานบางอย่างอาจมีความรู้ไม่พอก็ได้  หาก จะพิจารณาในแง่ของอำนาจบังคับบัญชา  ผู้บริหารทั่วไปก็คือ  line   manager  ของหน่วยงานทั้งหมดขององค์กรนั่น เอง

            5.  ผู้บริหาร (Administrator)  หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น องค์กรที่เป็นหน่วยราชการ องค์กรการกุศล ส่วนท้องถิ่น เทศบาล หรือ โรงพยาบาลของรัฐเป็นต้น

ความของผู้บริหาร

ความรู้เกี่ยวกับผู้บริหาร
                ผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการ  เป็นสมาชิกในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ทำงานในองค์กรจะเป็นผู้บริหารทุกคน  สมาชิกในองค์กรขนาดใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภท   คือ ผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร  ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ลงมือทำงานโดยตรงและไม่ต้องรับผิดชอบดูแลการทำงานของคนอื่น  เช่น  คนที่ประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ คนที่เช็คเอาท์หนังสือของห้องสมุด คนปรุงอาหารในภัตตาคารแล้วแต่เป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น  ในทางตรงกันข้าม  ผู้บริหารเป็นผู้สั่งการในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร  บางครั้งผู้บริหารอาจต้องรับผิดชอบในการลงมือปฏิบัติงาน  และที่สำคัญคือผู้บริหารนั้นต้องมีลูกน้อง
                ในองค์การนั้นผู้บริหารต่าง ๆ อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น  ผู้บริหารระดับล่างมักจะใช้ชื่อว่า  Supervisor  ถ้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะเรียกว่า   Foreman   (หัวหน้างาน)   ส่วนผู้บริหารระดับกลางก็จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน  เช่น  ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วย  คณบดี  ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร  รับผิดชอบในด้านนโยบาย  กลยุทธ์  และตัดสินใจนั้น  ได้แก่  รองประธาน  ประธาน  ผู้อำนวยการ  ประธานบอร์ด CEO
                 ถ้าหากท่านเลือกอาชีพนักบริหารแล้วท่านจะมีชื่อตำแหน่งและความรับผิดชอบต่าง ๆ กัน  ขึ้นอยู่กับองค์การที่ท่านทำอยู่รวมทั้งท่านจะพบว่าอาชีพนักบริหารเป็นอาชีพที่น่าตื่นเต้นและท้าทายอาชีพหนึ่งทีเดียว 2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน

ความหมายและประเภทของผู้บริหาร 
            ผู้บริหาร  หมายถึง  สมาชิกในองค์การที่มีหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร  และประสานภารกิจของบุคคลอื่นในองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นผู้แก้ปัญหาอุปสรรค  ขจัดความยุ่งยากซับซ้อน  ด้วยการปฏิบัติตามหลักการบริหารงานที่ดี  โดยเน้นที่การวางแผน  การจัดระเบียบ  การควบคุม  การรักษาระบบ  และโครงสร้างองค์กรให้เป็นไปตามปกติ  ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน  ได้แก่ ผู้ควบคุมงาน  หัวหน้าแผนก  หัวหน้าฝ่าย  ผู้จัดการสาขา  รองประธาน  ประธานกรรมการ  กรรมการผู้จัดการ  เป็นต้น  แต่ผู้นำ  (Leader)  ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงมุ่งสร้างสิ่งใหม่ ๆ พัฒนาปรับเปลี่ยน มองการณ์ไกล ท้าทายสิ่งเดิม ๆ มุ่งทำในสิ่งที่ถูกต้อง และทำให้องค์กรสามารถดำเนินงานไปได้ในทิศทางที่ถูกต้อง โดยคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นมนุษย์ คุณค่า และใส่ใจในเรื่องของอารมณ์ด้วย
              อย่างไรก็ตามผู้บริหารที่ดีต้องมีคุณสมบัติของผู้นำด้วย  ในการกล่าวถึงเรื่องการบริหาร  จึงมีการใช้คำว่า  ผู้นำ  และผู้บริหาร  ไปด้วยกัน

ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก

ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก  จำแนกเป็น  3 แบบ คือ
            1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา  (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่        คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ   หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์   วิจารณ์   คาดโทษ   แสดงอำนาจ
            2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง  โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
            3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff  ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพ                    อีริก   เบิร์น  จิตแพทย์ชาวอเมริกัน  ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3 องค์ประกอบ  คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child  egostate )  ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง  (Parents  egostate)  ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ
            1.  ภาวะความเป็นเด็กในรูปแบบผู้นำ  ผู้นำที่มีลักษณะเช่นนี้จะเป็นคนที่  เอาแต่ใจตัวเอง  ก้าวร้าว  ดื้อรั้น  กระตือรือร้น  ไม่กล้าตัดสินใจ  มีความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นภาวะของผู้นำที่เต็มไปด้วยความคิดแต่ไม่ทำ
            2.  ภาวะผู้ใหญ่ในรูปแบบผู้นำ  ผู้นำแบบนี้จะเป็นคนที่มีการวิเคราะห์  และสนใจข้อมูลเป็นหลัก เป็นคนที่มุ่งความสำเร็จ  โดยไม่สนใจความรู้สึกของลูกน้อง  อยู่ในโลกแห่งเหตุและผล  ไม่มีอารมณ์ขันพูดง่าย ๆ ก็คือ  เป็นคนที่จริงจังกับทุกเรื่องโดยเฉพาะกับลูกน้อง
            3.  ลักษณะภาวะพ่อแม่ในแบบผู้นำ ผู้นำเช่นนี้จะเป็นผู้นำที่ออกจะเผด็จการ  ติชมลูกน้องเสมอ  ถ้าดีจะเป็นห่วงเป็นใย  คอยปกป้อง อีกด้านก็คือรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ  โดดเดี่ยว  มีความลึกลับ  ออกคำสั่งอย่างเดียวไม่ค่อยฟังความเห็น

ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน

ผู้นำตามการใช้อำนาจ

ผู้นำตามการใช้อำนาจ 
            1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโคยรวบอำนาจ ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น   ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ฮิตเลอร์
            2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย คือ ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
            ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้   ฉะนั้น   นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก

ที่มา: http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-1-1.htm

ผู้นำตามอำนาจหน้าที่

           ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ
            1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
            1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  (Charismatic Leadership) คือ ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้

            1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership) คือ ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล

ประเภทของผู้นำ

ประเภทของผู้นำ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ 
2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ 
3. ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก  
            


ความหมายของผู้นำ

             เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว ต่างกับผู้นำอีกแบบ ซึ่งเป็นผู้นำที่ดีจนไม่ค่อยได้กล่าวขวัญถึง เช่น พระพุทธเจ้า พระโมฮัมหมัด พระเยซู เป็นต้น ซึ่งถือเป็นผู้นำทางสติปัญญา ซึ่งถึงแม้จะพ้นยุคสมัยไปแล้ว ผู้คนก็ยังนำคำสั่งสอนมาปฏิบัติกันจนถึงยุคปัจจุบัน
           นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการบริหาร ผู้นำยังคงเป็นความคาดหวังสูงสุดในการแบกรับภาระ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่ทว่า บทบาทผู้นำในยุคของพระนเรศวรมหาราชกับผู้นำของวันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจ หากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจ ไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วม ก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้นำยุคนี้
ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ

ความหมายและประเภทของผู้นำ

            ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย

ที่มา: http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L4/4-1-1.htm